พันท้ายนรสิงห์ เรื่องราวเป็นตำนาน ถ่ายทอดสืบมาหลายยุคหลายสมัย
ด้านการศึกษา เรื่องราวนี้เป็นอีกหนึ่งวิชาเรียนรู้ตั้งแต่ประถม และมัธยม
ในวิชาภาษาไทย และประวัติศาสตร์
เพื่อปลูกฝังให้เยาชนรุ่นหลังสำนึกถึงความกล้าหาญ ซื่อสัตย์
เป็นต้นแบบการยึดมั่น ในกฎเกณฑ์และหลักการ
ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29
แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251
ผู้คนสมัยนั้นเรียกขานท่านว่าสำเด็จพระเจ้าเสือ
เพราะมีนิสัยดุโหดร้ายเหมือนเสือ พระเองค์มีพระปรีชาทางด้านมวยไทย
และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้จนถึงปัจจุบัน
พันท้ายนรสิงห์ เป็นประชาชนธรรมดา ชื่อเดิมว่า สิงห์ เป็นคน บ้านนรสิงห์
(ปัจจุบันเปลี่ยนมา ตำบลนรสิงห์) อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง มีฝีมือในการชกมวย
ครั้งหนึ่งเมื่อมีการชกมวยคาดเชือก
แต่นายสิงห์ไม่รู้ตัวว่ากำลังชกมวยอยู่กับพระเจ้าเสือที่ได้ปลอมตัวมาขึ้น
สังเวียน หลังจากนั้นทั้ง 2 กลายเป็นสหายกัน
ในเวลาต่อมาพระเจ้าเสือเรียกตัวสิงห์เข้ารับราชกาลทหาร
ในตอนเข้าเฝ้านั้นเอง ทำให้สิงห์รู้ความจริงว่าคู่ชกและเพื่อนรักของตน
เป็นถึงพระเจ้าแผ่นดิน นายสิงห์ได้เป็นทหารของพระเจ้าเสือ
โดยทำหน้าที่คอยคัดท้ายเรือ ได้รับตำแหน่ง พันท้ายนรสิงห์
ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ นิสัยดี มีควาจงรักภักดีเป็นเลิศ
จึงทำให้พันท้ายนรสิงห์ เป็นที่โปรดปราณแก่พระเจ้าเสือเป็นอย่างมาก
จึงถูกมอบหมาย
ให้ถวายการรับใช้พระเจ้าเสืออย่างใกล้ชิดตลอดราชกาลของพระองค์
เหตุการณ์สำคัญ ปีวอก พ.ศ. 1066 ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
เสด็จด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประภาสทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี
ครั้นเรือพระที่นั่งไปถึงโคกขาม และคลองที่นั่นคดเคี้ยวนัก
พันท้ายนรสิงห์ทำหน้าที่เป็นนายซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่ง
คัดแก้ไขไม่ทันทำให้หัวเรือกระทบกิ่งไม้ใหญ่ จนหักตกลงไปในน้ำ
พันท้ายนรสิงห์ตกใจโดดขึ้นจากเรือพระที่นั่ง
ไปนั่งคุกเข้าบนพื้นฝั่งแล้วกล่าว
ขอให้พระเจ้าอยู่หัวนำหัวเรือและขอให้ตัดศรีษะของตัวเอง
นำมาไว้ด้วยกันที่แห่งนี้ หลังพระเจ้าเสือได้รับฟังพระองค์ทรงยกโทษให้
แต่ด้วยความซื่อสัตย์ และยึดมั่น
พันท้ายนรสิงห์กลัวว่าจะเสียขนบธรรมมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมายไป
พระเจ้าเสือได้ฟังดังนั้น ก็ทรงดำรัสวิงวอนไปเป็นหลายครั้ง
พันท้ายนรสิงห์ก็ไม่ยอมหยุด จนในที่สุดต้องจำยอมสั่งเพชรฆาต
ให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์
แล้วทำศาลขึ้นสูงเพียงตานำศรีษะพันท้ายนรสิงห์วางคู่ไว้กับหัวเรือ
อนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ อยู่ที่ วัดนรสิงห์ ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก
จังหวัดอ่างทอง ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
ซึ่งเป็นวันที่ท่านพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต
จะมีพิธีบวงสรวงสักการะพันท้ายนรสิงห์
และการจัดงานสดุดีคนดีศรีแผ่นดินถิ่นนรสิงห์ พันท้ายนรสิงห์
บริเวณอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ดูซีรี่ย์
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559
About patsawat bunthong
Author Description here.. Nulla sagittis convallis. Curabitur consequat. Quisque metus enim, venenatis fermentum, mollis in, porta et, nibh. Duis vulputate elit in elit. Mauris dictum libero id justo.